“พระเล่นได้แค่ไหน”
ศีลท้ังหมด 227 ข้อของพระภิกษุ มีบางข้อที่เข้าข่ายการเล่น เช่น
ข้อ 101 ห้ามจี้ภิกษุให้หัวเราะ
ข้อ 109 ห้ามเล่นซ่อนบริขารหรือสิ่งของของภิกษุอื่น (บริขาร คือ เครื่องใช้สอยของพระภิกษุ มี 8 อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า)
ข้อ 156 เราจักไม่หัวเราะเสียงดัง เมื่อไปในบ้าน
ข้อ 157 เราจักไม่หัวเราะเสียงดัง เมื่อนั่งในบ้าน
แต่สิ่งที่เราเห็นในจักรวาลคอนเทนต์ของ พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ ที่ผ่านมา
เราได้ยินเสียงหัวเราะบ่อยถี่พอๆ กับการพูดคุย (เผลอๆ มากกว่าด้วยซ้ำ)
เราเห็น มีม พส.เต็มโลกออนไลน์
เราเห็นการกลับไปตั้งคำถามถึงความสำรวมและความเหมาะสมเป็นระยะ
แล้วการเล่นของ พส.ล่ะ เป็นอย่างไร
สจ๊วต บราวน์ ผู้บุกเบิกงานวิจัยเกี่ยวกับการเล่น และ ผู้อำนวยการสถาบันการเล่นแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา บอกว่า การเล่นมันมีมากกว่าเรื่องสนุก และมนุษย์ถูกออกแบบให้เล่นตลอดชีวิตของเรา“
เด็กที่เล่นมากๆ จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่เฉลียวฉลาด และมีความสุข และถ้าเรายังคงเล่นอยู่ มันจะช่วยให้เราฉลาดขึ้น ไม่ว่าอยู่ในวัยไหน”
บราวน์ยังบอกอีกว่า สิ่งที่ตรงข้ามกับการเล่นไม่ใช่การทำงาน แต่คือ ความหดหู่ อย่างนั้นแล้ว ชีวิตที่ปราศจากการเล่น หรือถูกห้ามเล่น มันจะเป็นอย่างไร
จึงเป็นที่มาของ mappa live ครั้งที่ 7 สนทนากับ พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ ในหัวข้อ “ไม่ให้เล่น = ยังเล่นได้อยู่” เพื่อกลับไปตั้งคำถามว่าถ้าการเล่นมันสำคัญจริงๆ เราควรเล่นได้ไหม เล่นอย่างไร โดยเฉพาะการเล่นในความหมายของพระ
ตัดริบบิ้นชิ้นแรกของ ‘เล่นเล่น’ ซีรีส์ว่าด้วยการเล่นอย่างจริงจัง โปรเจกต์เฉพาะกิจร่วมกันของ mappa และ Leeway การเรียนรู้ผ่านการเล่น
ดำเนินรายการโดย มิรา ชัยมหาวงศ์ Founder mappa Media และ ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ Co-Founder mappa Media / บรรณาธิการ mappa