หมอแพมชวนอ่าน

“เยอะจนล้น” ฟัง พูด อ่าน เขียน ถึงจะสร้างประสบการณ์คุณภาพ

เพราะการเรียนรู้ของมนุษย์ ไม่เคยเรียนรู้จากการนั่งอยู่เฉยๆ แล้วนึกถึงสิ่งใหม่ได้เอง เราคิดค้นสิ่งใหม่ขึ้นได้จากการต่อยอดจากฐานเดิม

ฐานเดิมอาจเปรียบได้กับประสบการณ์วัยเด็ก 

ฐานเดิมที่ดีอาจเปรียบได้กับประสบการณ์วัยเด็กที่มีคุณภาพ

และ ประสบการณ์วัยเด็กที่มีคุณภาพ คือ EF 

“เมื่อคนๆ หนึ่งเผชิญกับปัญหา ต้องดึงประสบการณ์เก่ามาประมวลผล แล้วแก้ปัญหาให้ตัวเองถึงจุดหมาย  อย่างที่คุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ พูดเสมอว่า EF ไม่ใช่จริยธรรม ฉะนั้นการแก้ปัญหาต่อหน้าที่เกิดขึ้นกับคนๆ หนึ่งมันเป็นประสบการณ์เก่าที่เขามี แล้วเอามาทำให้ตัวเองผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปได้ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของพ่อแม่ก็คือการใส่ประสบการณ์ดีๆ ให้ลูก” 

และประสบการณ์ดีๆ ให้ลูก เริ่มต้นได้จากการอ่าน 

“พัฒนาการทางภาษาของเด็กเปรียบเหมือนเป็นภาชนะใส่น้ำเรียงกัน ถังแรกต้องเต็มก่อน แล้วพอมันเต็ม มันจึงจะล้นไปยังถังต่อมา 

หมายความว่า ‘ถังแรก’ ต้องฟังๆๆๆ เก็บข้อมูลให้มากจนล้นไป ‘ถังที่สอง’ แล้วเด็กจะเริ่มพูดๆๆๆ ล้นแล้วถึงจะไป ‘ถังที่สาม’ การอ่าน อ่านๆๆๆ แล้วถึงจะล้นไป ‘ถังที่สี่’ การเขียน เพราะฉะนั้น พอเทียบค่าถังสี่ใบ การฟัง พูด อ่าน เขียน มันคือประสบการณ์วัยเด็ก

การที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังเยอะเหมือนสร้างขนาดถัง เด็กที่มีถังใบใหญ่มาก เขามีประสบการณ์มาก พออ่านจนล้นไป ถังใบต่อมามันต้องใหญ่อยู่แล้วเพื่อรับน้ำที่มันเอ่อตลอดเวลา และมันจะใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ” 


Illustrator

ณขวัญ ศรีอรุโณทัย

ทำงานกราฟิกหลากหลาย นิยมการพูด-เขียนสั้นๆ วาดรูปน้อยๆ เพราะสมาทานแนวคิดประหยัดพลังงาน มองว่าเด็กคือมนุษย์ตัวเล็กย่อส่วน ไม่ได้รักหรือเกลียดเป็นพิเศษ

Related Posts