ในโลกยุคดิจิทัลท่ามกลางบรรยากาศที่มีสื่อต่างๆ เกิดขึ้นอย่างมากมายจนนำไปสู่คอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ และครีเอเตอร์มากหน้าหลายตา รวมถึงในด้านของสื่อเองก็ต้องปรับตัวไปตามๆ กัน คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า BrandThink เองก็ต้องมีการขยายยูนิตเพื่อพร้อมปรับตัวให้เข้ากับกระแสสังคมในปัจจุบัน ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของความแตกต่างทางด้านเนื้อหาหรือการสร้างสรรค์คอนเทนต์ แต่รวมไปถึงการนำทักษะต่างๆ มารวมกัน เพื่อเติมเต็มคอนเทนต์แต่ละแบบให้ออกมาสมบูรณ์และตอบโจทย์ให้มากที่สุด
จุดมุ่งหมายของ BrandThink มีความน่าสนใจว่าด้วย ‘ความเชื่อที่ว่าคอนเทนต์คือทุกอย่าง’ เพราะเมื่อเริ่มเปิดรับและเข้าใจในคอนเทนต์ที่หลากหลายแล้ว ก็จะสามารถหยิบจับองค์ความรู้และทักษะจากคอนเทนต์ในรูปแบบต่างๆ
มาสร้างสรรค์ผลงานจนกลายเป็นสิ่งใหม่ที่อาจคาดไม่ถึง
คนภายนอกมักมองว่า BrandThink เป็นบริษัทเกี่ยวกับ Publisher ที่ให้ข้อมูลในด้านข่าวสาร และสื่อออนไลน์ ซึ่งเปรียบเสมือนยอดภูเขาน้ำแข็งที่ใครหลายคนเลือกมองเห็นจุดสูงสุดเป็นอย่างแรก
แต่จุดเริ่มต้นที่แท้จริงแล้ว BrandThink พัฒนามาจากทีมโปรดักชันเฮาส์ที่รับผลิตงานภาพยนตร์โฆษณา ที่ต่อยอดการทำงานสื่อสารต่างๆ ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีทีมที่พกพาแพสชันการทำงานทางด้านนี้มาโดยเฉพาะ จึงมีโอกาสได้ทำงานที่หลากหลายจนพัฒนามาเป็น Brand Partnership ทั้งในแง่ของงานเขียน งานภาพ งานวิดีโอโฆษณา อีเวนต์ ครีเอทีฟ การตลาด การวางกลยุทธ์ รวมถึงงานระดับภาพยนตร์มาจนถึงปัจจุบัน
วันนี้เราจึงชวน เอกลักญ กรรณศรณ์ Managing Director และ ทีปกร วุฒิพิทยามงคล Deputy Managing Director แห่ง BrandThink มาพูดคุยในเรื่องความหลากหลายในการทำคอนเทนต์ พร้อมเจาะลึกไปถึงประเด็นในการทำงานแบบ ‘Creative Change‘ ในแบบฉบับ BrandThink รวมถึงพูดคุยในโปรเจกต์ต่างๆ อย่างซีรีส์วาย Caged Again, ภาพยนตร์ Halabala, คอร์สเรียนออนไลน์ Thinkster Academy , Exhibition งานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 29 (BOOK EXPO THAILAND 2024 อ่านกันยันโลกหน้า), รวมถึงผลงานที่เพิ่งผ่านพ้นไปกับการงานอีเวนต์ MIND DAY ภูมิคุ้มใจ PRESENTED BY SHISEIDO
จุดประกายใดที่ทำให้ BrandThink มุ่งหน้าสู่การทำงานโดยมียูนิตที่หลากหลาย?
ด้วยความที่โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านอย่างรวดเร็วเพียงปลายนิ้วสัมผัส บางธุรกิจต่างห่างหายไปพร้อมกับการเกิดธุรกิจใหม่ๆ ที่เข้ามาเป็นการขยับจิ๊กซอว์ชิ้นใหญ่ BrandThink เองก็ได้จุดประกายสำคัญสำหรับผลกระทบเหล่านี้ จึงขอสรุปแกนในการทำงานคร่าวๆ ไว้ว่าแกนธุรกิจยังคงเป็นเหมือนเดิม แต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารจาก Inside out มาสู่ Outside in ให้มากขึ้น เปรียบเสมือนการมองจากมุมมองของคนภายนอกเข้ามาว่า BrandThink คืออะไร และสามารถให้คำตอบผู้อื่นได้อย่างไร
BrandThink ยังคงเดินหน้าต่อในทั้ง 5 ภาคส่วนหลัก ดังนี้
1. Publisher
2. Brand Partnership
3. Cinema Studio
4. Community
5. IP Experience
‘Publisher’ เป็นยูนิตที่อาจจะคุ้นหน้าคุ้นตามากที่สุดในแง่ของการนำเสนอคอนเทนต์ที่หลากหลายสู่สังคมผ่านทุกชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็น Article, Long Video, Short Video และอื่นๆ อีกมากมาย ที่สำคัญเป็นการนำเสนอตัวตนในรูปแบบใหม่โดยผ่านการนำ Host เข้ามาเป็นตัวแทนในการเล่าเรื่องราวในประเด็นต่างๆ
“เราเชื่อว่า Influencer เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับยุคนี้ เพราะเป็นตัวแทนในการสื่อสารสิ่งต่างๆ ออกไป เพราะฉะนั้นปีนี้เราจึงมี Host มาดำเนินรายการต่างๆ เพื่อเป็นตัวแทนของเราในหลายมิติ เพื่อที่จะทำให้เราเข้าถึงกลุ่มผู้รับชม ผู้อ่าน ผู้ฟังของเราได้อย่างแท้จริง”
ในฐานะผู้ก่อตั้ง BrandThink มีทัศนคติหรือมุมมองต่อโลกคอนเทนต์ในปัจจุบันอย่างไร?
เอกลักญอธิบายถึงมุมมองต่อการมองโลกคอนเทนต์ในแบบฉบับ BrandThink สรุปโดยรวมไว้ว่า ด้วยความที่ทำงานค่อนข้างหลากหลาย จึงทำให้เข้าใจว่าคอนเทนต์ในแต่ละแบบมักมีเสน่ห์ในตัวเอง โดยเน้นนำจุดแข็งของแต่ละแบบมาเชื่อมโยง และพัฒนาเพื่อสร้างไอเดียใหม่ๆ อยู่เสมอ
“จริงๆ พวกเรามองว่าคอนเทนต์คือทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะงานโฆษณา งานภาพยนตร์ หรือบทความออนไลน์ เพราะเราเชื่อว่าคอนเทนต์มีส่วนในการพัฒนาตัวเรา และยังส่งผลต่อความคิด ความรู้สึก รวมถึงมีผลต่อการทำงาน การใช้ชีวิตของเราในหลายๆ แง่มุม
“ความหลากหลายของการทำงานใน BrandThink ช่วยให้เรามีมุมมองที่กว้างขึ้น สามารถเข้าใจประเด็นต่างๆ ได้ดีขึ้น ถึงขั้นลงลึกไปในคอนเทนต์แต่ละแบบ และจับจุดแข็งมารวมกัน เพราะเราเชื่อว่าวิธีนี้จะสร้างความแตกต่างได้ และเป็นที่มาที่เราสามารถผลิตผลงาน ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์หรือแม้กระทั่งงานครีเอทีฟเฟสติวัลที่ประกอบไปด้วยหลายองค์ความคิดและมุมมองที่หลากหลายขึ้นมาได้ ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า ‘Creative Change’ หรือการดึงเอาความคิด ความสร้างสรรค์จากหลายๆ มิติมาหลอมรวมกัน”
ในปัจจุบัน ความที่โลกเต็มไปด้วยความซับซ้อน วุ่นวาย และไม่มีความแน่นอน ทั้งในเรื่องของสภาพแวดล้อม ระบบการทำงาน รวมถึงผู้คน หลายองค์กรจึงเริ่มมีการปรับตัวไปตามๆ กันเพื่อให้ธุรกิจหรือองค์กรของตนมีความยั่งยืน และมั่นคง แม้จะต้องเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันก็ตาม ซึ่งก็ทำให้เอกลักญมีมุมมองต่อโลกคอนเทนต์นี้ได้กว้างมากขึ้น ทั้งในเรื่องของระบบการทำงาน แนวคิด รวมถึงกลยุทธ์ต่างๆ จึงได้หลอมรวมจนเกิดเป็นคำว่า ‘Creative Change’
คำนิยามสำหรับ Creative Change ในแบบฉบับของ BrandThink คืออะไร?
อาจจะเป็นคำที่หลายคนไม่ค่อยคุ้นชิน แต่ Creative Change ในแบบฉบับของ BrandThink คือแนวชุดความรู้แบบ M-Shape ที่เราบูรณาการมาจากหลายๆ ภาคส่วน ทั้งความรู้ที่เราลงมือทำ หรือจากกลุ่มพันธมิตรที่มาสร้างงานสร้างโปรเจกต์ร่วมกัน เพื่อหลอมระดมความคิดและส่งต่อความสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในรูปแบบที่ต่างออกไป บนความเชื่อที่ว่าความคิดสร้างสรรค์สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสิ่งต่างๆ รอบตัวเราได้
เพราะฉะนั้น BrandThink จึงมองว่าการเป็น ‘Hybrid Content Creator’ ตอบโจทย์มากที่สุด เพราะมีความเชี่ยวชาญในหลากหลายรูปแบบ และพร้อมสร้างสิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา
“เราก็เข้าใจดีว่าบางคนก็อาจจะเลือกเส้นทางสายลึก เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง แต่สำหรับเราท่ามกลางโลกของการแข่งขัน เราอาจจำเป็นจะต้องมีความถนัดมากกว่าหนึ่งอย่าง ซึ่งการเป็น Hybrid Content Creator เรามองว่าในธุรกิจเราก็อาจจะเป็นเรื่องจำเป็นในปัจจุบัน
“และอีกหนึ่งมุมมองของคำว่า Creative Change นั้นเปรียบเสมือนการเปลี่ยนแปลงโลก เปลี่ยนแปลงสังคมในเชิงบวกผ่านความคิดสร้างสรรค์ เช่น ทางความพยายาม ความเชื่อ แม้กระทั่งนโยบายต่างๆ ด้วยความที่องค์กรอยู่ใน Creative Business และเป็น Creative Solution ก็รู้สึกว่า Creative เป็นจุดแข็งของ BrandThink เพราะเราเชื่อใน Creative Synergy ซึ่งคิดว่าเป็นอีกหนทางที่เราสามารถพัฒนาโลกได้”
ด้วยความที่ BrandThink ขับเคลื่อนด้วย ‘Creative Change’ อะไรที่เป็นแกนหลักสำคัญของการทำงาน?
ทั้งเอกลักญและทีปกรได้กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า เนื่องจากในปีที่ผ่านมาได้มีการปรับเปลี่ยน Business Unit ต่างๆ เพื่อให้มีมุมมองทั้งต่อภายในและภายนอก ได้เข้าใจตัวตนและรูปแบบการทำงานที่ดีขึ้น BrandThink จึงมีหลักในการทำงานอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 แกน คือ
- Empowering การให้พลัง อำนาจ และความคิดต่างๆ
- Diversity ความเชื่อมั่นในความคิดที่หลากหลายของผู้คน
- Positive Impact ความเชื่อมั่นในงานที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมและโลก
หลักการทำงานของ BrandThink ต้องอาศัยทุกแกนเข้าด้วยกันจึงจะเกิดเป็นงานที่สมบูรณ์ ซึ่งในส่วนของ Empowering เป็นการส่งต่อพลัง และความคิดที่ไม่จำเป็นจะต้องเน้นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เสมอไป แต่ต้องลงมือทำอย่างเต็มที่และใส่ใจกับทุกชิ้นงานจนสามารถสร้างสิ่งใหม่ให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจ นำไปสู่ Diversity แง่ของความเชื่อมั่นในความคิดที่หลากหลายทั้งของตนเองและผู้อื่น
นอกจากนี้เอกลักญยังมีมุมมองต่อโลกยุคใหม่ว่ามันคือการเปิดใจและยอมรับในความหลากหลาย เพราะคิดว่าเป็นองค์ประกอบของความสวยงามอย่างหนึ่ง ดังนั้น BrandThink จึงมุ่งเน้นดึงเอาความหลากหลายมาต่อยอดสู่ผลงาน โดยผ่านการหยิบจับองค์ความรู้ และทักษะจากคอนเทนต์ในรูปแบบต่างๆ มาสร้างสรรค์ผลงาน จนเกิดเป็น Positive Impact ที่มีความเชื่อมั่นในผลลัพธ์กับคุณค่าของผลงาน
และสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกที่มีความหมายตอบโจทย์ทั้งผู้คน สังคม และโลกใบนี้
“ทั้ง 3 แกนนี้เป็นแกนที่เราเลือก และยึดถือ รวมถึงเป็นทิศทางในอนาคตด้วย เช่น ปัจจุบันมีการพูดถึงกันมากขึ้นในเรื่องการแข่งขันของแต่ละองค์กร ดังนั้นเราจะหาหนทางอย่างไรที่จะไปร่วมมือกับแบรนด์ต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ทั้งสามแกนนี้เป็นเพียงแค่ภาพรวมในการทำให้ทุกงานบรรลุไปได้ แต่เมื่อมองมุมกลับปรับมุมมองอีกด้านก็จะเห็นว่า ‘คุณค่า’ หลักคือ Creative Change เพราะเราเชื่อมั่นว่าในสังคมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์ และส่วนนี้เองที่รู้สึกว่าเราสามารถพัฒนาได้จริงๆ” ทีปกรเสริมในประเด็นนี้เพิ่มเติม
และนอกจากนี้ BrandThink ยังมีโอกาสทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ต่างๆ เช่น เทพลีลา, X10 digital, YUPP!, Fungjai, Ad Addict, Future Trends, Springbooks ฯลฯ ด้วยเหตุผลว่าเราเองไม่ได้เก่งทุกเรื่อง แค่พอทำได้ในบางเรื่อง และไม่ได้ชำนาญอย่างบริษัทที่ถนัดด้านนี้โดยเฉพาะ เช่นในส่วนของ KOL ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากพาร์ตเนอร์ที่มากประสบการณ์อย่างเทพลีลา แม้กระทั่งในด้านมีเดีย BrandThink เองก็สามารถทำได้พอสมควร แต่ถ้าเป็นมีเดียที่ช่ำชองเลย ก็ต้องทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์อื่นร่วมด้วย จึงตระหนักได้ว่าความเชื่อมั่นในวิธีการทำงานที่มี Creative Synergy คือการร่วมมือประสานพลัง Creative เข้าด้วยกัน เพราะเชื่อเสมอว่าหนึ่งบวกหนึ่งก็สามารถเท่ากับสามได้
สิ่งที่ท้าทายมากที่สุดสำหรับการทำงานภายใต้แกน Positive Impact?
เอกลักญได้ถ่ายทอดมุมมองนี้ว่า “จริงๆ เรามีมุมมองที่แอบโลภและเห็นแก่ตัว เราพยายามอยู่ให้ได้ในโลกธุรกิจ โลกทุนนิยม แต่ขณะเดียวกันเราก็ยังต้องการความหมายในงานที่เราทำอยู่เสมอ เพราะฉะนั้น Positive Impact ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งก็นับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทาย และเป็นเป้าหมายสูงสุดของเราในทุกงาน”
ส่วนทีปกรได้อธิบายในประเด็นนี้ว่า “มองว่าเรื่องของสมดุลเป็นสิ่งที่ท้าทายมากที่สุด ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ คือเวลาลูกค้าเลือกที่จะทำงานกับ BrandThink มักมาพร้อมด้วยความตั้งใจที่ดี และอยากสร้าง Positive Impact กับโลก แน่นอนว่าเป็นเป้าหมายใหญ่ของทางองค์กร และเป้าหมายย่อยประกอบไปด้วยการเติบโตในยอดขาย รวมถึงด้านธุรกิจก็ต้องเดินไปด้วยกัน ความยากและความท้าทายตรงนี้ที่เราต้องหาจุดกึ่งกลางหรือจุดสมดุลแบบพอดีระหว่างเป้าระยะยาว กับเป้าที่เป็นระยะกลาง เพื่อให้เดินหน้าไปพร้อมกันทั้งสองเป้าหมาย”
คำว่า End to End Creative ในแบบฉบับของ BrandThink คืออะไร?
“แน่นอนว่า BrandThink ขับเคลื่อนด้วย Creative Change ถ้าให้เจาะลึกไปถึงขั้น End to End Creative เลย อาจจะขอเปรียบเป็นในส่วนของงานลูกค้าที่บางรายจะเริ่มต้นด้วยการไม่มีบรีฟงานเลย แต่มีทิศทางในใจที่เป็นเป้าหมายอะไรบางอย่าง แต่ด้วยความที่ BrandThink เราถนัดในเรื่องของ Communication เหมือนเป็นการจับเข่าคุยกันว่าแท้จริงแล้วธุรกิจของลูกค้าต้องการอะไร เป้าหมายที่อยากสื่อ และแนวทางที่อยากประสบความสำเร็จคืออะไร รวมถึงเรื่องของยอดขาย Awareness ต่างๆ เราจึงค่อยตีโจทย์กันมาตั้งแต่ Start to Finish และระหว่างกลาง Creative Work จนครอบคลุมถึงขั้นการวัดผลต่างๆ เพราะเราเองก็มีพาร์ตเนอร์กับบริษัทที่วัดผลได้ในหลากหลายแบรนด์” ทีปกรว่า
เนื่องจากจุดเริ่มต้นของ BrandThink มาจาก Production House แล้วได้นำแนวคิด Creative Change มาปรับใช้ในยูนิต Cinema Studio อย่างไรบ้าง?
สำหรับในยูนิต Cinema Studio ยังคงพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นการทำงานที่ยึดมั่นมาตลอด และเป็นอีกหนึ่งยูนิตที่นำเอาองค์ความรู้จากหลายฝ่ายมาผสมผสานกัน ทำให้มีเนื้อหาที่ลึกและกว้าง รวมถึงมีมุมมองในด้านกลยุทธ์ของการทำงานที่น่าสนใจ ซึ่งในโลกของภาพยนตร์นี้เองทำให้ได้ถ่ายทอดความเป็นตัวเองผ่านการนำเสนอความเชื่อในแบบฉบับ BrandThink มากยิ่งขึ้น
“เราใช้ความเป็น Hybrid Content Creator เข้าไปขยี้ เพราะเรามองว่าหนังอาจจะไม่ได้เป็นแค่หนัง แต่สามารถเป็นแคมเปญ เป็นจักรวาลคอนเทนต์ที่ส่งเสริมหนังให้ไปได้ไกลขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบทความ วิดีโอขนาดสั้น บทสัมภาษณ์ และอื่นๆ และที่ BrandThink Cinema เราทำหนังเต็มที่ปีหนึ่งก็ได้แค่ 3-4 เรื่อง แต่เราอยากอยู่ใน Every moment ของกลุ่มผู้ชม ก็เลยคิดว่าการนำหนังเข้ามาฉายก็เป็นส่วนที่ทำให้เราได้ใกล้ชิดกับกลุ่มผู้ชมได้”
หรืออย่าง ‘5th Round’ ที่เพิ่งเข้าฉายเมื่อกลางปีที่ผ่านมา ทีม BrandThink ก็ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพยนตร์ที่มีความเป็นตัวตนได้สูงมาก เพราะเป็นภาพยนตร์ที่จะพาไปสำรวจชีวิต ‘นักมวย’ ทั้ง 4 รุ่น พร้อมเรื่องราวในแวดวงมวยไทยที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ Real Footage ในการเล่าเรื่อง เป็น Unsrcipted by Scripted ที่เหมือนไม่มีสคริปต์แต่ถูกเรียบเรียงจัดวางอย่างตั้งใจ สร้างเป็นภาพยนตร์โดยผู้กำกับหน้าใหม่ไฟแรงอย่าง ท็อป-ระวี พิริยะพงศ์ศักดิ์
ส่วนภาพยนตร์เรื่อง ‘RedLife’ ก็เป็นกรณีศึกษาที่ชัดเจนในแง่ของ Creative Synergy เพราะ RedLife ไม่ได้มีทุนมากนักในการโปรโมต แต่เน้นวิธีนำแนวคิดในเรื่องของการทำคอนเทนต์แบบ Creative Synergy มาปรับใช้ จนสามารถดึงพาผู้คนที่มีความคิดใกล้เคียงกัน ทั้งนักคิด นักเขียน นักเคลื่อนไหว สื่อ หรือ KOL ฯลฯ ที่มีส่วนช่วยผลักดัน จนทำให้ผลลัพธ์เริ่มตีแผ่ในวงกว้าง และถูกพูดถึงมากยิ่งขึ้น
หรือแม้กระทั่งผลงานการโปรดักชันที่เพิ่งผ่านพ้นไปกับซีรีส์เรื่อง ‘อังคารคลุมโปง: เอ็กซ์ตรีม’ ซีรีส์แนวสยองขวัญที่ได้ร่วมมือกับ Atime และ Netflix เรื่องเล่าจากรายการวิทยุสู่หน้าจอออนไลน์
รวมถึงผลงานซีรีส์วายเรื่องแรกของ BrandThink Cinema x WeTV ที่ร่วมกันสร้างสรรค์ ‘Caged Again The Series’ หรือ ‘บอกกรงๆ ว่ารักเธอ’ ซีรีส์วายแนวรอมคอม แฟนตาซี ที่กำลังจะเกิดในช่วงปลายปี 2024 นี้ ซึ่งทั้งสองซีรีส์ได้นำแนวคิดครีเอทีฟจากการเล่าเรื่องนำมาสู่การสร้างสรรค์ในแบบซีรีส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และในปี 2025 โปรเจกต์จอยักษ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่าง ‘Halabala’ ภาพยนตร์โดย เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ คนเขียนบทภาพยนตร์จาก ‘13 เกมสยอง’ และ ‘สี่แพร่ง’ ที่มารับบทเป็นผู้กำกับในภาพยนตร์เรื่องนี้ โดย Halabala จะเป็นหนัง Creative Horror ในรสชาติใหม่ที่เมืองไทยยังไม่เคยสัมผัส และเป็นอีกหนึ่งโปรเจกต์สำคัญที่เอกลักญอยากชวนให้ทุกคนรอติดตาม
“เราเชื่อว่าแคมเปญหนึ่งแคมเปญ แบรนด์จะใช้เงินค่อนข้างเยอะ ถ้าเราสามารถที่จะสร้างสิ่งที่ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์หรือภาพยนตร์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการตลาดได้ด้วย สามารถ Blend in เข้าไปในสคริปต์ได้อย่างลงตัว สิ่งนี้ก็จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์สามารถเข้าไปอยู่ในใจผู้ชมได้ง่าย โดยเฉพาะงาน Long Form ที่เป็นงาน Storytelling ที่ผู้คนเปิดรับกันอยู่แล้ว นอกเหนือจากนั้นแบรนด์ยังสามารถทำแคมเปญ คอนเทนต์ รายล้อมภาพยนตร์เหล่านั้นต่อได้อีกด้วย”
อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ แนวคิดเรื่อง ROI Marketing (Return of Investment Marketing) ที่มองว่าสตูดิโอและแบรนด์สามารถเติบโตไปได้พร้อมๆ กันได้ เพราะแบรนด์สามารถเข้ามาลงทุนในแง่ของการตลาดที่มีโอกาสคืนทุนได้ อีกทั้ง ROI Marketing ยังเป็นโมเดลธุรกิจที่แบรนด์สามารถหารายได้จากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ ลงพื้นที่แพลตฟอร์มอย่าง OTT รวมถึงการนำไปฉายในต่างประเทศ ทำให้สิ่งนี้เป็นเหมือนแนวคิดที่ตอบโจทย์การตลาดและการทำให้ภาพยนตร์สามารถมีพื้นที่สำหรับคนดูได้แบบยั่งยืน
BrandThink มีเเนวทางการปรับตัวอย่างไรเพื่อให้เป้าหมายสำเร็จ?
เรียกได้ว่า BrandThink เน้นทำงานหนักในเรื่องของการพูดคุยกับลูกค้าเพื่อให้เข้าถึงเป้าหมาย และวัตถุประสงค์หลักที่แท้จริงของงาน ซึ่งทำให้เรียนรู้ว่าแนวทางของบริษัทเขาคืออะไร จึงค้นพบว่าในแต่ละบริษัทต่างก็มี Value ที่ยึดถือแตกต่างกันไป แต่ถ้าสามารถปรับเข้าหากันได้อย่างลงตัว ก็จะทำให้เห็นช่องทางของงานที่ประสบความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สิ่งที่ท้าทายคือ จะทำอย่างไรให้สัมพันธ์กับใจของผู้คน
เพราะ BrandThink ไม่ได้อยากพัฒนาแค่ด้านการสื่อสารเพียงอย่างเดียว จึงอยากให้ทำในส่วนที่เป็นตรงกลางมากขึ้นด้วย
ในปีนี้ BrandThink อยากเดินหน้าต่อในทิศทางไหน?
“ต้องบอกก่อนว่าจริงๆ แล้วเวลาที่ BrandThink ทำงานจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนที่ทำงานเพื่อคนอื่นแต่เราก็ลงมือทำอย่างเต็มที่ เช่น งานในส่วนของลูกค้า และโปรเจกต์ต่างๆ เพราะเราเชื่อมั่นในการที่จะพัฒนางานที่ดีให้กับลูกค้า องค์กร หรือพาร์ตเนอร์ต่างๆ ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่อยากพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
“กับส่วนที่สองคือ เป็นส่วนที่เราพยายามจะสร้าง Branding เพราะ BrandThink อยู่ในฐานะ มีเดียที่มียูนิตหลากหลาย และมีการสร้างสรรค์คอนเทนต์ย่อยๆ อย่าง MOODY ที่เป็นคอนเทนต์เกี่ยวกับการให้กำลังใจ การฮีลใจ จนต่อยอดมาสู่งานอีเวนต์ที่เพิ่งผ่านพ้นมานี้กับงาน ‘MIND DAY ภูมิคุ้มใจ PRESENTED BY SHISEIDO’ และ Think Fest ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2025 อีกด้วย”
อีกทั้งทีปกรยังอธิบายเพิ่มเติมสั้นๆ ว่า
“ในทุกงานด้านครีเอทีฟ ถ้าเราจับถูกทางก็จะส่งผลให้ประสบความสำเร็จ และสามารถลงมือทำได้อย่างเรื่อยๆ หรือการที่ลงทุนในภาพยนตร์ต่างๆ เหตุผลเพียง BrandThink อยากสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ในสังคม เพราะรู้สึกว่าเป็นการทำธุรกิจที่ยั่งยืน ส่วนงานที่เป็น Brand Partnership ต่างๆ แน่นอนว่าต้องเป็นกระแสรายได้หลัก และเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สำคัญมากสำหรับ BrandThink ก็จะมีทั้งสองส่วนนี้ที่อยากพัฒนาให้ดีขึ้นอีกในปีนี้”
เพราะเหตุใดจึงตัดสินใจต่อยอดจากแพลตฟอร์มออนไลน์สู่งานอีเวนต์ในรูปแบบสุขภาพใจกับงาน ‘MIND DAY ภูมิคุ้มใจ PRESENTED BY SHISEIDO’
ว่าด้วยเรื่องของภายในจิตใจนับว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่อ่อนไหวมากสำหรับสภาพสังคมปัจจุบัน เพราะอาจมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้จิตใจเราถูกกัดกร่อนลงทุกวัน BrandThink จึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก และก่อนหน้านี้ได้มีการทำคอนเทนต์แนวให้กำลังใจใน Session ที่เรียกว่า MOODY ซึ่งจะเป็นการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ My Fullness การพัฒนาจิตใจ การรู้เท่าทันตัวเองต่างๆ จนต่อยอดมาเป็นงาน On Ground Event ให้เรียกน้ำย่อยก่อนเดินหน้าลุยเฟสติวัลแบบจัดเต็มในกลางปี 2025
ต้องบอกก่อนว่าจุดเริ่มต้นของงาน ‘MIND DAY ภูมิคุ้มใจ PRESENTED BY SHISEIDO’ เริ่มมาจากความสนใจของทีม BrandThink ที่อยากส่งต่อเรื่องราวพร้อมมอบประสบการณ์ดีๆ ผ่านรูปแบบของอีเวนต์ ซึ่งในงานนี้เป็น Workshop กึ่ง Workshop ที่ขนกองทัพ 13 Speakers กับอีก 8 Sessions มาร่วมสร้างภูมิคุ้มใจและความเข้มแข็งจากภายในไปด้วยกัน นอกจากนี้ยังปิดท้ายด้วย 1 Concert ของศิลปินจากค่ายเพลง What The Duck อย่าง ‘QLER’ และ ‘PONCHET’ และยังมีนักร้องสาวเสียงเป็นเอกลักษณ์ ‘วิโอเลต วอเทียร์’ ที่มาร่วมมอบความสุขผ่านเสียงเพลง
เรียกได้ว่าในงานอีเวนต์นี้เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญที่ล้วนเกิดจากความตั้งใจ จนพัฒนามาเป็นงานอีเวนต์สุขภาพใจในแบบฉบับของ BrandThink โดยอีเวนต์ครั้งนี้ได้รวบรวมความสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นให้ Speakers มาร่วมแชร์วิธีการจัดการความรู้สึก และการรับมือกับชีวิตของตนเองทั้งในปัจจุบันจนถึงอนาคต และยังมีกิจกรรมให้เข้าร่วมในแต่ละ Session อีกด้วย
สำหรับอีเวนต์ครั้งนี้ BrandThink ได้ชวนพาร์ตเนอร์ที่มากด้วยประสบการณ์และประสิทธิภาพ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสร้างสรรค์ผลงานดีๆ ไปด้วยกันอย่าง เทพลีลา, Fungjai, Ad Addict, Future Trends, HER Awards และอีกหลายๆ เจ้ามาร่วมสร้าง Synergy เพื่อสร้างสิ่งใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น
เป้าหมายสูงสุดของ BrandThink คืออะไร?
สำหรับทีปกรมองว่า “เป้าหมายสูงสุดคงเป็นเรื่องของผู้คนใน BrandThink เพราะส่วนใหญ่คนที่นี่จะเป็นคนที่สนุกกับการทำงาน สนุกกับการคิด และทำเรื่องสร้างสรรค์ต่างๆ ซึ่งแนวคิดเริ่มต้นต้องคำนึงถึงว่าเราทำงานไปเพื่ออะไร เพื่อโอกาสที่จะได้ทำผลงานชิ้นนั้นให้สนุกขึ้นไปเรื่อยๆ หรือสนุกกับการได้ทำงานกับคนเก่ง ทั้งพาร์ตเนอร์และลูกค้าที่มีเป้าหมายที่แข็งแรง ทำให้ตระหนักได้ว่าบางทีธงหลักที่แท้จริงของ BrandThink อาจจะไม่ใช่อะไรเลยนอกจากกระบวนการที่เราได้ทำงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดโจทย์สนุกๆ และมีลูกค้าที่สนับสนุนต่อไปเรื่อยๆ เพื่อเป็นเป้าหมายให้ตัวเองต่อไปในอนาคต”
“แน่นอนว่า Creative Change เป็นเป้าหมายสำคัญขององค์กรที่อยากเปลี่ยนแปลงสังคมผ่านความคิดสร้างสรรค์ แต่กว่าจะผ่านกระบวนการเหล่านั้นมาได้ก็ต้องผ่านเป้าหมายในตัวเองด้วยเหมือนกัน” เอกลักญได้อธิบายประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติม
และอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญของ BrandThink คือ การเป็นพาร์ตเนอร์ให้แบรนด์ต่างๆ เพื่อหยิบจุดเด่นเรื่องความหลากหลายภายใต้คอนเซ็ปต์ Creative Synergy มาประยุกต์ใช้ในยูนิต ‘Brand Partnership’ ซึ่งในปีนี้เป็นปีที่รวบรวมในด้านการทำงานอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Creative, Strategy, Production รวมไปถึงงานด้านคอนเทนต์ และพันธมิตรต่างๆ ที่ทำให้เชื่อว่าสามารถหยิบเอาความถนัดในแต่ละด้านมาตอบโจทย์แบรนด์ได้ในทุกๆ มิติ
สุดท้ายนี้กลยุทธ์ภายใต้ Creative Change จะเดินหน้าต่อไปในทิศทางไหน ปลายทางของความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายจะออกมาเป็นรูปแบบใด และสิ่งเหล่านั้นถูกต่อยอดเป็นอะไรบ้าง เชื่อว่าทุกชิ้นงานที่ถ่ายทอดออกมาน่าจะคลายความสงสัยของคำถามเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน