สนุก สารพัดนึก และเชื่อมือได้ – แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์จาก mappa

สนุก สารพัดนึก และเชื่อมือได้ 

คือ 3 คีย์เวิร์ดสำคัญของแพลตฟอร์มการเรียนรู้จาก mappa ที่จะเปลี่ยนบ้านและสถานที่ต่างๆ ให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ สนุก และปลอดภัย 

ถ้าแพลตฟอร์ม mappa คือโลกเล็กๆ หนึ่งใบ เราหมกมุ่นและหมุนตัวเองอยู่รอบๆ สามสิ่งนี้

Fun Tool Box – กล่องเครื่องมือสนุก

Smart Assistant – ผู้ช่วยสารพัดนึก

Trusted Community – ชุมชนแห่งความเชื่อมั่น 

“เราคือกล่องเครื่องมือสนุกๆ ของคู่หูและนักสำรวจ” 

เมื่อนักสำรวจอย่างเด็กๆ กับคู่หู (พ่อแม่ ครู ญาติ) เปิดกล่องสนุกๆ ด้วยการคลิกเข้าไปผจญภัยใน mappa แพลตฟอร์มนี้จะเต็มไปด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่เราเตรียมไว้ให้ 

ถามว่าสนุกยังไง? ทั้งหมดถูกออกแบบให้เป็นเกม เด็กๆ และคู่หูต้องผจญภัย พิชิตภารกิจให้ได้ 

“เราคือผู้ช่วยสารพัดนึก” 

คู่หูและนักสำรวจจะไม่ผจญภัยอย่างโดดเดี่ยว แต่เราจะแอบช่วยไปตลอดทาง 

เปล่า เราไม่ได้เฉลยทางออกหรือบอกคำตอบ แต่เราก็มีวิธีของเราที่จะลุ้น กระตุ้นทักษะ และปากำลังใจ ให้สายฟ้ารัวๆ แบบที่เกมอื่นไม่ได้ทำ 

“เชื่อมั่นและเชื่อมือชุมชนนี้ได้” 

แพลตฟอร์มนี้ไม่ได้มีแค่พ่อแม่แต่หลากหลายไปด้วยครีเอทีฟ สื่อ นักออกแบบการเรียนรู้ คนออกแบบแพลตฟอร์ม ที่สนใจการเรียนรู้ และเปลี่ยนความหวังลมๆ แล้งๆ กับการศึกษาด้วยการลงมือทำ 

อดใจรออีกนิด เรากำลังสำรวจ ตรวจตลอดสาย เพราะอยากมั่นใจว่าการผจญภัยครั้งนี้จะสนุกและราบรื่นที่สุด 

ระหว่างนี้เราแอบเอาบาง check point มารีวิวให้ดูกันก่อน

เกาะงานบ้าน

ซูชิข้าวปลาทูทอด ภารกิจที่คู่หูกับนักผจญภัยเล่นด้วยกัน!

สิ่งที่นักผจญภัยจะได้จากภารกิจนี้

  • ทักษะการสังเกต เด็กๆ เรียนรู้บรรยากาศต่างๆ รอบตัว 
  • ทดลองออกแบบและวางแผนลำดับขั้นตอนการทำงาน
  • เด็กๆ ได้รู้จักกำกับควบคุมตัวเอง

ก่อนเดินทางทำภารกิจ คู่หูอาจจะช่วยจัดเตรียมวัตถุดิบ หาอุปกรณ์ และเครื่องปรุงต่างๆ ให้นักผจญภัย จากนั้นเมื่อนักผจญภัยพร้อมก็เริ่มลงมือทำซูชิข้าวปลาทูได้เลย โดยภารกิจนี้นักผจญภัยค่อยๆ ตามลำดับขั้นตอนอย่างใจเย็น ไม่ต้องรีบร้อน และคู่หูเพียงแค่คอยสังเกตอย่างห่างๆ หากนักสำรวจไม่เข้าใจหรือทำตามขั้นตอนไม่ได้ถึงค่อยเข้าไปช่วยเหลือนะ         

ภารกิจซูชิข้าวปลาทูทอดจะช่วยให้นักผจญภัยแสดงไอเดียของตัวเองออกมา ให้เขาได้ใช้จินตนาการในการจัดจานให้สวยงาม ออกแบบรสชาติตามสไตล์ของตัวเอง 

เมื่อนักผจญภัยเดินทางมาถึงขั้นตอนสุดท้าย คู่หูอาจจะพาเขาเก็บกวาด ทำความสะอาดเก็บล้างอุปกรณ์ด้วยกันหลังกินอาหารเสร็จ เท่านี้ก็ครบขั้นตอนของภารกิจแล้วนะ

อย่าลืมอัพโหลดผลงานหน้าตาอาหารของนักผจญภัยให้เราดูด้วย หรือแบ่งปันความรู้สึกและประสบการณ์จากภารกิจนี้ให้ดูบ้างนะ

เกาะอ่าน

ออกเดินทางตามหา ‘สระอุ’ ในนิทานสุกรนอนอุตุ~

สิ่งที่นักผจญภัยจะได้จากภารกิจนี้

  • ทักษะตีความอย่างนุ่มลึก การเข้าใจ-ใช้เป็น 
  • ทดลองกระโดดลงไปสัมผัสเรื่องราวและประสบการณ์อื่นๆ จากตัวละครในนิทาน
  • เด็กๆ ได้รู้จักกำกับควบคุมตัวเอง

การเรียงร้อยรูปประโยคเป็นจังหวะจะโคน นับได้ว่าเป็นปัญญาในการใช้ภาษาอย่างหนึ่งของมนุษย์ การอ่านนิทานที่มีจังหวะและคำคล้องจองจะทำให้สมองได้รับการกระตุ้นให้เกิดการจดจำคำศัพท์ต่างๆ เกิดเป็นความสนุกสนานจากการใช้ภาษา 

ภารกิจนี้คู่หูอ่านนิทานสุกรนอนอุตุให้นักผจญภัยฟัง ซึ่งเป็นหนังสือชุดกลอนสระแสนสนุก มีความตื่นเต้นตรงการใช้สระอุมาสร้างเป็นตัวละคร เมื่อคู่หูอ่านให้ฟังแล้วลองชวนนักผจญหาคำ ‘สระอุ’ จากหนังสือกัน หากนักสำรวจยังเขียนเองไม่ได้ คู่หูก็ทำหน้าที่เขียนให้ได้เลย หรือจะชวนกันตามหาคำศัพท์ที่มี ‘สระอุ’ จากในบ้านก็ได้นะ

เกาะเล่น

“วันนี้ฉันจะเล่นเป็นอะไรดีนะ”

สิ่งที่นักผจญภัยจะได้จากภารกิจนี้

  • การสังเกต เด็กๆ เรียนรู้บรรยากาศต่างๆ รอบตัว
  • ทักษะการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ
  • คิดอย่างอิสระ ใช้จินตการอย่างสรรค์

การเล่นบทบาทสมมุติ (role play) หนึ่งในการเล่นอิสระที่เด็กเล็กชื่นชอบ เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้เขานำเอาจินตนาการออกมาสร้างสรรค์ในชีวิตจริง นอกจากนั้นการเล่นบทบาทสมมุติยังเป็นการกระตุ้นให้เด็กใช้ความทรงจำใช้งาน (working memory) ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะทางสมอง หรือ Executive Function (EF) ที่มีความสำคัญต่อการกระตุ้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร พัฒนาการทางอารมณ์ และสังคม                                                                                                                                                           

ภารกิจนี้คู่หูชวนลูกคุยว่า “วันนี้อยากเล่นบทบาทสมมุติอะไร” (แต่ถ้าลูกยังไม่อยากเล่นหรือไม่พร้อมก็ไม่เป็นไร) แต่ถ้าเขาพร้อมและมีไอเดียในการเล่นเป็นของตัวเอง คู่หูอาจจะช่วยเตรียมหาอุปกรณ์มาเล่น และให้เด็กเป็น ‘ผู้นำการเล่น’ และคู่หูเป็น ‘ผู้ตาม’ โดยทำตามบทบาทที่เด็กๆ วางไว้ให้ 

เริ่มจากการที่คู่หูและนักผจญภัยช่วยกันวาดและระบายสี role play card ตามจินตนาการว่าอยากให้สถานการณ์นี้เกิดขึ้นที่ไหน (ถ้าเด็กๆ อยากใช้สถานการณ์อื่นๆ นอกเหนือจากการ์ดที่ให้ไว้ ก็สามารถทำได้เลย go go) จากนั้นทั้งคู่หูและนักผจญภัยก็ปล่อยให้การเล่นเป็นไปตามจินตนาการที่แสนสร้างสรรค์อย่างเป็นธรรมชาติ

เมื่อเล่นเสร็จแล้วอย่าลืมแชร์ประสบการณ์หรือบันทึกเรื่องราวให้ฟังบ้างนะ

คู่หูอาจจะชวนนักผจญภัยวาดรูปสัก 1 ใบ ตามบทบาทที่เขาได้รับในวันนี้ หรือจะวาดอะไรก็ได้ จากนั้นคู่หูช่วยถามคำถามต่างๆ เกี่ยวกับภาพแสนวิเศษใบนั้น 


Writer

Avatar photo

mappa learning

Related Posts