การลบไม่ได้ช่วยให้ลืม สื่อสารอย่างสันติและมีสติในวันที่ไม่มีอะไรเเน่นอน เเม้เเต่ใจเราเอง

  • ล็อกดาวน์ที่ไม่รู้จะจบลงเมื่อไหร่ การอยู่บ้านที่มาพร้อมกับการสื่อสารที่เอาเเน่เอานอนไม่ได้ ทำให้ตัวเราตกอยู่ในความกลัวเเละข้อมูลชวนสับสน จนไม่รู้ว่าจะรับมืออย่างไรดี
  • เราต่างคาดหวังว่า ‘ทุกอย่างจะดีขึ้น’ เเต่เรื่องจริงเเค่ออกไปเซเว่นหน้าปากซอยยังยาก เราจึงต้องยอมรับชะตากรรม ไว้อาลัยความคาดหวังนั้น เพื่อปูทางเลือกในการจัดการอารมณ์ในใจของตัวเอง
  • เปิดบทสนทนาอย่างสันติเเละมีสติกับ ‘โอ๋’ วริสรา มีภาษณี กระบวนกรการเรียนรู้เรื่องการคลี่คลายความขัดแย้ง การสื่อสารอย่างสันติ (Non Violence Communication : NVC) เพื่อประคับประคองตัวเราข้ามผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้

นอกจากสถานการณ์ล็อกดาวน์ที่ไม่รู้จะจบลงเมื่อไหร่ แต่ละวันเรายังต้องเผชิญการสื่อสารที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ไม่มากก็น้อยส่งผลต่อสภาพจิตใจที่ควรจะนิ่งที่สุด ให้หวั่นไหวเเละเครียดทวีคูณ

ส่งผลให้ตัวเราสับสนเเละตกอยู่ในความกลัวจากการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน จนไม่รู้ว่าจะรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าได้อย่างไร

“เราต้องตั้งหลักกับตัวเองว่าเรื่องนี้กระทบความรู้สึกของเราอย่างไร เว้นระยะจากข้อมูลข่าวสาร หรือดูเเหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หรือทักท้วงโดยยึดจากสิ่งที่เราต้องการ”

คือคำเเนะนำของ ‘โอ๋’ วริสรา มีภาษณี กระบวนกรการเรียนรู้เรื่องการคลี่คลายความขัดแย้ง การสื่อสารอย่างสันติ (Non Violence Communication : NVC) ต่อเรื่องการรับมือกับข้อมูลที่ชวนสับสนไปจนถึงเฟคนิวส์ในสังคม การประคับประคองให้ตัวเราผ่านความรู้สึกนั้น การตั้งหลักกับตัวเองเเละเเลกเปลี่ยนข้อมูล จะช่วยให้เรามองเห็นวิธีเเก้ปัญหาได้ชัดเจนขึ้น

นอกจากนี้ การเรียนรู้ความรู้สึก ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น เเละพูดคุยกับคนที่ไว้ใจคือหลักสำคัญในการสื่อสารอย่างสันติ เพื่อประคับประคองตัวเราให้ข้ามผ่านความไม่สบายใจไปให้ได้ในวันที่เราไม่รู้จะเเบกรับอารมณ์ของตัวเองอย่างไร 

โควิดไม่ใช่เรื่องผิดบาปแต่คือชะตากรรม เราดูแลตัวเองเต็มที่แล้ว  

“ฉันติดโควิด”

“ฉันกังวล เเต่ฉันต้องยอมรับ”

โอ๋เเนะนำว่า การยอมรับชะตากรรมที่เกิดขึ้นเเละรับมือด้วยชุดข้อมูลที่ชัดเจนจะช่วยคลายความกังวลในใจได้ 

“องค์ความรู้เเละข้อมูลที่ชัดเจน จะทำให้เรามองเห็นเเนวโน้มที่เป็นจริงกับตัวเราได้มากขึ้น บางครั้งผู้ป่วยไม่รู้ชะตากรรม เพราะฉะนั้นการดำเนินการตามขั้นตอนให้รู้ชะตากรรมว่า เขาจะไปอยู่ตรงไหนเป็นเรื่องสำคัญ ตั้งหลักกับตัวเองว่า ฉันติดเเล้ว เเล้วอาการอยู่ระดับไหน หลังจากนั้นดำเนินการหาช่องทางช่วยเหลือตัวเอง เเล้วจัดการเรื่องการเว้นระยะห่างกับคนในบ้านได้อย่างไรบ้าง”

ขณะเดียวกัน ในสถานการณ์ที่ระบบสาธารณสุขของรัฐยังไม่พร้อมเเละเข้าไม่ถึงประชาชน โอ๋เเนะนำว่า การขอความช่วยเหลือจากภาคเอกชนคืออีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้ตัวเราเข้าถึงยา หมอ เเละอุปกรณ์การรักษา

นอกจากนี้ โอ๋อยากให้ผู้ติดเชื้อมองว่า การติดโควิดไม่ใช่เรื่องผิดบาป เพราะจริงๆ เเล้วอาจมาจากการบริหารจัดการของภาครัฐที่ยังไม่ครอบคลุมมากพอ ซึ่งส่งผลให้ไม่ว่าใครก็สามารถติดเชื้อได้

“การติดโควิดป็นเรื่องระบบและโครงสร้างของประเทศเราด้วยที่ไม่รองรับการดูเเลผู้ป่วย จึงทำให้การติดโควิดถูกผลักให้เป็นภาระของปัจเจก การป้องกันมันไม่เกิดขึ้นจริง ทำให้คนรู้สึกสิ้นหวังเเละโทษตัวเอง อยากให้คิดว่ามันไม่ใช่ความผิดคุณ”

ไว้อาลัยความรู้สึกในใจ  แล้วพาตัวเองกลับสู่ความจริง

“ฉันไม่สบายใจ”

“เเล้วความรู้สึกนี้เรียกว่าอะไร กลัว กังวล เครียด หรือเศร้ากันนะ”

 การเรียกชื่อความรู้สึกเเละเปิดพื้นที่ให้กับทุกอารมณ์ เป็นหนึ่งในหลักของการสื่อสารความขัดเเย้งที่จะช่วยให้ตัวเรามีพื้นที่รับมือเเละมองเห็นวิธีเเก้ปัญหา

“ตามหลักการสื่อสารอย่างสันติ เราจะเรียกชื่ออารมณ์นั้นว่าเรากำลังรู้สึกอะไร ถ้ากลัวก็บอกได้ว่ากลัวเเล้วลองนึกว่าอะไรคือสาเหตุของความกลัว เนื่องจากบางครั้งเราอาจรีบกลบเกลื่อนหรือข้ามไป เพราะไม่รู้จะรับมือกับมันยังไง”

“เเต่ถ้าเราเรียกชื่อความรู้สึกนั้นได้ มันจะทำให้เราชัดเจนขึ้นเเละอารมณ์จะคลี่คลายลง เพียงรับรู้ว่าเรารู้สึกอะไร อารมณ์ของเราจะกลับมามั่นคง เเล้วสามารถหาทางเลือกในการรับมือกับสถานการณ์ตรงหน้าได้ดีขึ้น”

ขณะเดียวกัน ถึงเเม้ว่าจะรู้ว่าสถานการณ์ตอนนี้เรายังไม่สามารถทำอะไรได้ เเต่ก็หวังว่า ‘ทุกอย่างจะดีขึ้น’

เเต่บางครั้งความคาดหวังนั้นอาจไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกผิดหวัง เช่น อยากออกจากบ้าน เเต่ตอนนี้แค่ไปหน้าปากซอยก็ยังยากเลย

โอ๋จึงเเนะนำให้ ‘ไว้อาลัยความคาดหวัง’ 

“เราไว้อาลัย ปล่อยความคาดหวังที่ไม่ตรงกับความจริงออกไป เมื่อเรารับรู้เเละยอมรับว่าตอนนี้เรายังไม่สามารถที่จะทำสิ่งนั้นได้ เราจะพาตัวเองกลับมาสู่ความจริง เเล้วกลับมารับมือกับสถานการณ์ตรงหน้าได้อีกครั้งหนึ่ง”

“กระบวนการไว้อาลัยอาจทำให้ผิดหวังหรือเสียใจ การดำเนินเเต่ละขั้นตอนควรค่อยเป็นค่อยไป อ่อนโยนกับตัวเอง เพราะกระบวนการนั้นอาจสร้างความรู้สึกตำหนิหรือตัดสินในสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้”

“สู้ๆ นะ” ให้สู้กับใคร เปลี่ยนเป็นถามว่า “มีอะไรที่พอจะช่วยได้บ้าง” 

“ช่วงนี้อยู่บ้านกันนะ สู้ๆ นะ”

“เเต่ฉันต้องออกจากบ้านไปทำงาน เเล้วฉันก็สู้อยู่นะ”

ในช่วงที่ต้องเว้นระยะห่างทางสังคมทำให้ออกไปเจอคนรอบข้างได้ยากขึ้น การถามไถ่เป็นครั้งคราวก็สามารถช่วยเติมใจกันได้

การเข้าอกเข้าใจกันหรือ Empathy เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้มองเห็นวิธีเเก้ปัญหา เเละผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

ไม่จำเป็นต้องรอให้คนใกล้ตัวพบเชื้อเเล้วค่อยทักไปคุย เพราะตอนนี้ทุกคนมีความเครียด เราสามารถนัดเพื่อนถามไถ่กันผ่านออนไลน์ การรักษาความสัมพันธ์จะทำให้ทั้งสองฝ่ายจะกล้าขอความช่วยเหลือกันเมื่อเกิดวิกฤต

“การ keep connection ไว้ จะทำให้กล้าบอกว่าฉันป่วย กล้าบอก กล้าสื่อสาร ต่างจากคนที่ไม่คุยกันนาน ต่างคนต่างพึ่งตัวเอง เวลามีปัญหาจึงยากที่จะไปเล่าให้เพื่อนฟัง เพราะเพื่อนก็ไม่รู้สถานการณ์ของเรา”

อีกทั้งบางครั้งตัวเราอาจจะไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นบทสนทนากับคนรอบตัวอย่างไร ใจหนึ่งก็อยากช่วย เเต่อีกใจหนึ่งกลัวว่าคำพูดของเราอาจไปทำร้ายจิตใจของอีกฝั่งได้

“คิดว่าคำว่าสู้ๆ อาจจะไม่พอ เพราะฉันก็สู้อยู่ในบ้าน เเต่สู้ไหวมั้ย อาหารอยู่นอกบ้าน เเต่ออกไปไหนไม่ได้ (หัวเราะ) หรือคำว่าอยู่บ้านสิ ทั้งๆ ที่ต้องออกไปทำงาน บางคนเป็นพ่อค้าเเม่ค้า เป็นลูกจ้างรายวันเขาทำเเบบนั้นไม่ได้ พอบอกว่าอยู่บ้านสิ ขอให้หยุดงานให้ผ่านช่วงนี้ไปก่อน เเต่ไม่มีอะไรรับประกันว่าเขาจะต้องรออีกนานเเค่ไหน หลายคนกลัวอดตายมากกว่าป่วยตาย”

เมื่อตกที่นั่งผู้ยื่นมือช่วยเหลือ  เราประเมินเขาจากสิ่งที่เขาต้องการได้ การถามว่ามีอะไรที่เขาต้องการหรือจำเป็นต้องใช้บ้าง เเละเรายินดีที่จะช่วยเหลือ เป็นสิ่งที่จำเป็นไม่แพ้กัน เพราะในช่วงเวลานี้กำลังใจอย่างเดียวคงไม่พอ

“เราเช็คเขาก่อนได้ว่าเขาขาดเหลืออะไรเเละอยากให้เราช่วยเหลือตรงไหน ถามเขาว่ามีอะไรที่เขาต้องการหรือจําเป็นในช่วงเวลานี้หรือเปล่า เช่น เขาอาจจะติดขัดเรื่องข้อมูล เเล้วเราบอกว่าเรายินดีช่วยหาข้อมูล บอกในจุดที่เราทำได้ก่อน มันจะช่วยให้เขารู้สึกโอเคขึ้น เพราะเราไปช่วยเขาจัดการเรื่องต่างๆ ได้”

“คิดว่าสิ่งที่ช่วยเติมเต็มเขาคือสิ่งที่เขาต้องการ รวมถึงรับฟังความกังวล บอกว่าถ้ามีเรื่องกังวลใจหรือไม่สบายใจเล่าให้เราฟังได้ ให้เขามีเพื่อนที่จะคอยเล่าความกังวล ให้คำปรึกษา เขาจะได้ไม่คิดไปไกลอยู่ลำพัง คอยรับฟัง มีชุดความรู้เเละเเนวปฎิบัติเพื่อให้เขามองเห็นวิธีการรับมือที่ชัดเจน”

ฉันควรเชื่อใคร เมื่อเฟคนิวส์เต็มไปหมด 

ขณะเดียวกันท่ามกลางการสื่อสารที่ไม่มีความเเน่นอน บางครั้งสิ่งที่เราเชื่อกลายเป็นเฟคนิวส์ ทั้งๆ ที่ตรวจสอบข้อมูลดีเเล้ว 

เเล้ว “ฉันควรเชื่อใคร ที่ฉันรู้มามันจริงหรือเปล่า” 

โอ๋เเนะนำว่า การตั้งหลักกับตัวเองว่าข้อมูลเหล่านั้นส่งผลกระทบกับตัวเราอย่างไร เเละถอยจากข้อมูลเหล่านั้น เเล้วเลือกรับข้อมูลจากเเหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือจะช่วยให้เราอยู่ในข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น

เเต่หากพบว่า ข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ขัดเเย้งกับสิ่งที่เราเจอ ‘การทักท้วง’ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

“ถ้าเราพบว่ามีข้อมูลที่ไม่ตรงกับสิ่งที่เราเจอ เราทักท้วงได้โดยยึดจากสิ่งที่เราต้องการ เช่น ฉันต้องการความปลอดภัย ชัดเจน ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเเลกเปลี่ยนข้อมูลกันในสังคมเเละสร้างเเนวทางที่จะตอบสนองความต้องการของเราได้ เเทนที่จะตัดสินหรือต่อว่าเพียงลำพัง”

อีกทั้งเป็นเรื่องปกติ ถ้าองค์กรสุขภาพที่ดูเเลเรามีการเเจ้งข้อมูลกลับไปกลับมาจะทำให้เราผิดหวัง เเละคาดหวังว่า องค์กรเหล่านี้จะให้ข้อมูลที่ชัดเจน เเต่ถ้าไม่เป็นเเบบนั้น โอ๋บอกว่า เราจะต้องลุกขึ้นไว้อาลัย เเละเลือกรับข้อมูลชุดใหม่หรือสร้างข้อมูลที่สามารถตอบสนองความคาดหวังของตัวเองได้เเทน

เยียวยาใจด้วยการช่วยเหลือคนอื่น

“ฉันอยากช่วยคนอื่น”

“ฉันจะไป ถึงเเม้จะไม่ปลอดภัย”

ภายใต้สถานการณ์เเพร่ระบาดโรคโควิด คนไม่ได้เครียดเพราะกักตัวอย่างเดียว เเต่อารมณ์นี้ถูกมัดไว้กับเรื่องปากท้องที่เป็นผลจากกลไกภาครัฐ บางคนสูญเสียอาชีพ หรือมีความเสี่ยงจากการออกไปทำงาน ทำให้คนกังวลมากขึ้น

เเต่สิ่งที่ช่วยได้ คือ การลุกขึ้นมาจัด ‘ตารางสอน’ ในเเต่ละวัน จัดการเวลาเเละกิจกรรมจะช่วยให้เราข้ามผ่านความไม่สบายใจนั้นได้ ถึงเเม้จะรู้สึกว่าเวลาจะผ่านไปนานกว่าปกติก็ตาม

“อาจจะลองกำหนดว่าในเเต่ละช่วงเวลาเราจะทำอะไร เช่น ตอนเช้าตื่นขึ้นมาอ่านหนังสือ กลางวันกินข้าวหรือลองปลูกต้นไม้ไหม ต้นไม้จะช่วยให้สดชื่นขึ้น เพราะคนที่กักตัว เขาอยู่ในห้องห้องเดียวไม่มีพื้นที่ให้เขาไปใช้ได้ กังวลมากๆ ว่าจะเเพร่เชื้อให้คนในบ้าน คนในบ้านเเละตัวเขาเองก็ต้องช่วยเหลือกัน”

ขณะเดียวกัน หลายคนอาจมองว่าการออกไปช่วยเหลือคนอื่นเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยเยียวยาจิตใจ ถึงเเม้ว่าคนอื่นจะมองว่าไม่ปลอดภัย

คนมองว่าไม่ปลอดภัยอาจมาจากภาพจำที่ทำให้เรารู้สึกว่า โควิดเป็นเรื่องน่ากลัวเพราะเป็นสิ่งที่กระทบว่าความตาย เเต่อีกมุมหนึ่งคนที่ตัดสินใจออกไปทำงานอาสา เขารู้ว่าน่าจะป้องกันเเละทบทวนกับตัวเองดีเเล้ว เเต่ด้วยความเห็นอกเห็นใจ เเละการออกไปช่วยเหลือคนอื่นจะช่วยลดความเครียดของตัวเองได้

“เวลานั่งรอมันเครียด ยิ่งเครียดยิ่งสิ้นหวัง เพราะฉะนั้นการออกไปทำอะไรบางอย่างหรือไปช่วยคนอื่นทำให้เขาเห็นเเละมีความหวังว่า เขาสามารถช่วยคนอื่น เเล้วมันตอบความหวังในใจของเขาเเละลดความกลัวว่า อย่างน้อยก็มีคนรอด คิดว่าเป็นการดูเเลตัวเองด้วยในเวลาที่ออกไปทำ” 


Writer

Avatar photo

ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์

ชอบดูซีรีส์เกาหลี เพราะเชื่อว่าตัวเราสามารถสร้างพื้นที่การเรียนรู้ได้ สนใจเรื่องระบบการศึกษาเเละความสัมพันธ์ในครอบครัว พยายามฝึกการเล่าเรื่องให้สนุกเเบบฉบับของตัวเอง

Illustrator

Avatar photo

กรกนก สุเทศ

เด็กกราฟิกที่สนุกกับการอ่านการ์ตูน ดูเมะ ชอบเล่าเรื่องและจำสิ่งต่าง ๆ ด้วยภาพมากกว่าตัวอักษร มองว่าหนึ่งในการเรียนรู้ที่ดีคือการเรียนรู้ผ่านสี รูปภาพ รูปทรง

Related Posts